เนื่องด้วยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด -19 ในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนต้องทำการเฝ้าดูอาการทั้งของตนเอง และคนรอบข้างว่ามีผู้ใดที่ตกเป็น คนป่วย แล้วหรือไม่ โดยหนึ่งอาการบ่งบอกก็คือ การไม่ได้รับ กลิ่น หรือการเสียการรับรู้ทางจมูกไป ซึ่งทาง หมอแล็บแพนด้า นักเทคนิคการแพทย์ ผู้ืั้เป็นเจ้าของเพจที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจะมาให้คำตอบในประเด็นดังกล่าวนี้
โดยทาง หมอแล็บแพนด้า ได้ให้รายละเอียดว่า การได้กลิ่นนั้น
เกิดจากการที่เราได้สูดลมหายใจเข้าไป ซึ่งกลิ่นจะผ่านเข้าทางเซลล์รับความรู้สึก และมันสามารถจะรับรู้ได้ผ่าน 2 ช่อง คือ ผ่านทางรูจมูก และผ่านทางคอหอยที่จะได้รับจากการระเหยของกลิ่นมา
ในช่องทางโผล่จมูกนั้น เซลล์การรับรู้จะอยู่ทางด้านบน เมื่อกลิ่นผ่านเข้าไปแล้ว มันจะทำการกระทบกับตัวเซลล์และปลายประสาทรับกลิ่น จาก จากนั้นระบบประสาทจะส่งต่อไปบอกเซล์สมองส่วนหน้าบริเวณที่เรียกว่า ออลแฟกทอรี่บัลบ์ (Olfactory bulb) ให้ส่งต่อสัญญาณไปยังสมองส่วนซีรีบรัม เพื่อที่สมองจะสามารถจำแนกได้ว่ากลิ่นที่ได้รับมานี้คือกลิ่นอะไร
ซึ่งก็ได้มีการทดลองในตัวหนูที่ได้รับเชื้อโควิด-19 เข้าไป แล้วก็ได้พบว่า เชื้อนั้นจะมีการแพร่กระจายเข้าไปยังเซลล์ประสาทในการรับกลิ่นภายในโพรงจมูก โดยตัวไวรัสได้ไปทำการเปลี่ยนแปลงการทำงานของเซลล์เหล่านี้ให้ผิดปกติ ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อประมาณ 1/3 นั้นไม่สามารถได้รับกลิ่น ส่งผลให้มีการนำมาใช้งานเป็นเกณฑ์อาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อโควิด-19
ศูนย์วิจัยบริเวณทะเลอันดามันตอนล่าง ของ กรม ทช. ได้พบซาก พะยูน ที่ได้รับแจ้งว่าเสียชีวิตเมื่อวานนี้ จากการชันสูตรคาดว่าเนื่องจากพลาดท่าถูกเงี่ยงของ ปลากระเบน แทงเข้าที่ช่องอก วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามันตอนล่าง ผ่าชันสูตรซากพะยูน ซึ่งรับแจ้งจากคุณสุทธิชัย หมาดนุ้ย พบพะยูนเสียชีวิตลอยอยู่บริเวณเกาะมุก เมื่อวาน (๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๓) เวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น.
ผลการชันสูตรของ กรม ทช. พบว่าเป็น พะยูน เพศผู้ ขนาดโตเต็มวัย น้ำหนักประมาณ ๓๕๐ กก. สภาพซากเน่า ลักษณะภายนอกพบบาดแผลจากรอยเขี้ยวของพะยูนตัวอื่น ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมในฝูงของพะยูน และรอยบาดแผลคล้ายถูกของมีคมขนาดยาว ๑ ซม. บริเวณหน้าอกเยื้องไปทางด้านซ้ายของพะยูน เมื่อผ่าตรงแผลพบเงี่ยงของ ปลากระเบน ขนาดความยาวประมาณ ๑๑ ซม.
ติดอยู่ภายในเนื้อเยื่อบริเวณกระดูกซี่โครงอกด้านซ้ายซี่ที่ ๑ และ ๒ ส่วนอวัยวะภายในเน่าสลาย ไม่สามารถระบุรอยโรคบ่งบอกสาเหตุความผิดปกติ ในทางเดินอาหารเต็มไปด้วยหญ้าทะเลอัดแน่นเต็มกระเพาะอาหาร และตลอดทั้งทางเดินอาหาร ไม่พบสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ผนังของกระเพาะอาหารเป็นแผลหลุมเล็กน้อย พบพยาธิเล็กน้อย สรุปสาเหตุการเสียชีวิตคาดว่ามาจากการถูกเงี่ยงปลากระเบนแทงทะลุเข้าบริเวณช่องอก ทำให้พะยูนเสียชีวิตโดยฉับพลัน จากนั้น จึงเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อนำไปวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการต่อไป
วันนี้ 21 ธ.ค. 63 เป็น ‘วันเหมายัน’ กลางคืนนานสุดในรอบปี
NARIT เผยข้อมูลว่า 21 ธ.ค. 63 ตรงกับ วันเหมายัน กลางคืนนานสุดในรอบปี นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ดาวเสาร์เคียงดาวพฤหัสบดี ใกล้สุดรอบ 397 ปี ด้วย วันเหมายันคือ – สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เผยแพร่ทาง Facebook ว่าวันนี้ (21 ธ.ค.) ตรงกับ วันเหมายัน ซึ่งเป็นวันที่มีกลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี นอกจากนี้ในช่วงหัวค่ำ ยังเกิดปรากฏการณ์ The Great Conjunction 2020 หรือ ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์ ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี อีกด้วย
โดยข้อความของทาง NARIT ระบุว่า “สวัสดีวันเหมายัน (เห-มา-ยัน) 21 ธันวาคม 2563 กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี ปีนี้มี TheGreatConjunction ดาวเสาร์เคียงดาวพฤหัสบดี ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี ในช่วงหัวค่ำด้วย สังเกตได้ถึงทุ่มครึ่งเท่านั้นครับ
วันเหมายัน (เห-มา-ยัน) (Winter Solstice) วันที่เวลากลางคืนยาวที่สุดในรอบปี ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด สำหรับประเทศไทย ในวันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้น 06:36 น. และตกเวลาประมาณ 17:55 น. ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวที่สุดในรอบปี หรือที่คนไทยเรียกว่า ตะวันอ้อมข้าว เวลาช่วงกลางวันเพียง 11 ชั่วโมง 19 นาที โดยประเทศทางซีกโลกเหนือจะนับเป็นวันที่เข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้จะเป็นช่วงเวลากลางวันจะยาวที่สุดในรอบปี นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน
กลางวันและกลางคืน เกิดจากโลกหมุนรอบตัวเอง ในขณะเดียวกันโลกก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ แกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับแกนตั้งฉากระนาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้บริเวณต่าง ๆ ของโลกในแต่ละช่วงของปีได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน และเกิดเป็นฤดูกาล
ในระยะเวลา 1 ปี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะเกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการ ขึ้น – ตก ของดวงอาทิตย์ทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่ วันครีษมายัน – กลางวันยาวนานที่สุด วันเหมายัน – กลางคืนยาวนานที่สุด วันวสันตวิษุวัตและวันศารทวิษุวัต – กลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน
นอกจากนี้ ในวันที่ 21 ธันวาคม 2563 ยังมีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สำคัญที่น่าติดตามในช่วงหัวค่ำวันดังกล่าวอีกด้วย คือ ปรากฏการณ์ ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์ ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี หรือเรียกว่า The Great Conjunction 2020 ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ปรากฏใกล้กันที่สุดห่างเพียง 0.1 องศา สังเกตเห็นได้หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าถึงเวลาประมาณทุ่มครึ่งเท่านั้น ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ดูด้วยตาเปล่าจะเห็นเสมือนเป็นจุดสว่างเพียงจุดเดียว และหากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายไม่เกิน 200 เท่า จะเห็นดาวเคราะห์ทั้งสองพร้อมดวงจันทร์บริวารอยู่ในช่องมองภาพเดียวกัน
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป